สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 

สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

              ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ได้เพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่าเป็นประเด็นของความสำเร็จในความพยายามของการพัฒนาประเทศ โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยากจนและการทำลายสิ่งแวดล้อม ที่อาจเป็นผลมาจากการเพิกเฉย หรือความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจของคนในชุมชนนั้น ๆ ที่อาจจะทำลายหรือใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้หมดโดยไม่ได้ตั้งใจ เพียงแค่เพื่อเขาเหล่านั้นจะอยู่รอดได้ต่อไป การทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จะก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงในการพัฒนาประเทศ โดยผ่านทางผลิตภาพทางการผลิตและผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำลง การมีประสิทธิภาพทางทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพตลอดจนปัญหาการเข้าไม่ถึงของการส่งเสริมอนามัย น้ำสะอาด จะมีผลกระทบต่อคนยากจนในที่สุด ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้จะเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพทางการใช้ทรัพยากรและเงื่อนไขของการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ดังนั้น ความสำเร็จของการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ก็คือ การพัฒนาเศรษฐกิจนั่นเอง

              ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ได้ละเลยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ในการคำนวณมูลค่าผลิตภัณฑ์รายได้ประชาชาติ (GNP) ของแต่ละประเทศนั้น ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไร การทำลายชั้นดินผิวดิน แหล่งน้ำ และพื้นป่า อันเนื่องมาจากผลของกระบวนการผลิตที่ขาดการคำนึ่งถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม มันได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประสิทธิภาพการผลิตของประเทศในระยะยาว ขณะที่มันอาจจะส่งผลดีต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์รายได้ประชาชาติ (GNP) เพียงแค่ในปัจจุบัน ดังนั้น มันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ในแง่มุมของคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

โครงสร้างของสาระวิชา

                 สำหรับในสาระวิชานี้ จะเป็นประเด็นของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะแบ่งประเด็นการศึกษา เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

ส่วนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของสิ่งแวดล้อม โดยจะวิเคราะห์ถึง

              การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบัญชีสิ่งแวดล้อม
              ประชากร, ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
              ความยากจนและสิ่งแวดล้อม
              การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อม
              การพัฒนาชนบทและสิ่งแวดล้อม
              การพัฒนาในเขตเมืองและสิ่งแวดล้อม
              สิ่งแวดล้อมโลก

ส่วนที่ 2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ
               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคกลาง
               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก
               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคตก
               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้
               ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ส่วนที่ 3 แบบจำลองเศรฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

               ทรัพยากรที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว
               ทรัพยากรที่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกัน
               ทรัพยากรที่เป็นสินค้าสาธารณะ

ส่วนที่ 4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

               กฎหมายเกี่ยวกับดิน
               กฎหมายเกี่ยวกับน้ำ
               กฎหมายที่เกี่ยวกับอากาศ (เสียง)
               กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง

จุดประสงค์ของการเรียน

           1•  เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับประเด็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคม

           2•  เพื่อทราบถึงปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขของปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

           3•  เพื่อทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวขัองกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

           4•  เพื่อเข้าใจถึงแบบจำลองเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวของกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร